Questioning Method
การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning
Method)
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถาม มีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อ
วัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย
การสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
4. ขั้นสรุปและประเมินผล
4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
ประโยชน์
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และ
วินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3eef93ad6684ca88
Cooperative Learning
การส่งเสริมการเรียนแบบร่วมมือ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี และได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
3) สุขภาพจิตดีขึ้น
ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
ที่มา : http://jintana22muk.blogspot.com/2012/07/theory-of-cooperative-or-collaborative.html
Cognitivism
กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ
หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย
และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ทีสำคัญ
ๆ มี 5 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเกสตอลท์(Gestalt’s Theory)
2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual
Development Theory)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A
Theory of Meaningful Verbal Learning)
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/kunwee/2007/10/10/entry-2
Google For education
คือชุดของฟรีอีเมลล์จาก Google
และเครื่องมือต่างๆ เป็นแบบระบบเปิดในการทำงานร่วมกัน เปิดกว้างสำหรับคุณครู
นักเรียนนักศึกษา ชั้นเรียน และสมาชิกในครอบครัวทั่วโลก ตัวอย่างเครื่องมือที่เป็นที่นิยมใช้ที่ท่านรู้จักดี เช่น อีเมล
(Gmail), เอกสาร (Docs),
ปฏิทิน (Calendar) และ Groups เป็นต้น แต่เครื่องมือเหล่านี้จะใช้สำหรับในการเรียนการศึกษา
ที่มา : http://www.it24hrs.com/2012/google-apps-for-education-th/
ประโยชน์สำหรับชั้นเรียน
เตรียมการได้ง่าย
ครูสามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้
การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครู่เดียว
ประหยัดเวลา
กระบวนการมอบหมายงานเรียบง่าย
ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ครูสร้าง ตรวจ และให้เกรดงานได้ในที่เดียวกัน
ช่วยจัดระเบียบ
นักเรียนสามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน
และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียนทั้งหมดจะจัดเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ภายใน Google
ไดรฟ์โดยอัตโนมัติ
สื่อสารกันได้ดีขึ้น
Classroom ทำให้ครูส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ทันที
นักเรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้
ประหยัดและปลอดภัย
เช่นเดียวกับบริการอื่นใน Google Apps for Education กล่าวคือ Classroom
ไม่มีโฆษณา ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของนักเรียนในการโฆษณา
และให้บริการฟรีสำหรับโรงเรียน
ที่มา : https://www.google.com/intl/th/edu/classroom/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น