จากการระดมสมองเลือกหัวข้อหลักตกลงเลือกเรื่อง
Co-operative Learning โดยมีเนื้อหาดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Cooperative Learning)
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิดความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม
ซึ่งการเรียนแบบร่วมมือไม่ใช่เป็นเพียงจัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม เช่น ทำรายงาน
ทำกิจกรรมประดิษฐ์หรือสร้างชิ้นงาน อภิปราย
ตลอดจนปฏิบัติการทดลองแล้ว ผู้สอนทำหน้าที่สรุปความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น
แต่ผู้สอนจะต้องพยายามใช้กลยุทธ์วิธีให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการประมวลสิ่งที่มาจากการทำกิจกรรมต่างๆ
จัดระบบความรู้สรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นหลักการสำคัญ
ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ
4-6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้เกิดเป็นความสำเร็จของกลุ่ม
ลักษณะของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดกิจกรรมแบบร่วมแรงร่วมใจว่ามีลักษณะ
ดังนี้
1.
มีการทำงานกลุ่มร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
2.
สมาชิกในกลุ่มมีจำนวนไม่ควรเกิน 6 คน
3.
สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันเพื่อช่วยเหลือกัน
4.
สมาชิกในกลุ่มต่างมีบทบาทรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น
วัตถุประสงค์ของการเรียนแบบร่วมมือ
1. เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทุกระดับความสามารถ
2.
เพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกัน
3.
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเป็นผู้ชนะ และมีความสำเร็จในการเรียน
4.
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ด้วยตนเอง
5.
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิดการแก้ปัญหา
เป็นต้น
องค์ประกอบที่สำคัญ
การเรียนแบบร่วมมือมีหลายเทคนิค
เช่น จิกซอ ซีไออาร์ซี ทีจีที
แต่ละเทคนิค มีองค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนคล้ายกัน ดังนี้
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ผู้สอนชี้แจงจุดประสงค์ของบทเรียน
1.2 ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย
กลุ่มละประมาณไม่เกิน 6 คน มีสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน ผู้สอนแนะนำวิธีการทำงานกลุ่มและบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม
2. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียน
บอกปัญหาหรืองานที่ต้องการให้กลุ่มแก้ไขหรือคิด
วิเคราะห์ หาคำตอบ
2.2 ผู้สอนแนะนำแหล่งข้อมูล
ค้นคว้า หรือให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการคิดวิเคราะห์
2.3 ผู้สอนมอบหมายงานที่กลุ่มต้องทำให้ชัดเจน
3.
ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม
3.1 ผู้เรียนร่วมมือกันทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ
ทุกคนร่วมรับผิดชอบ ร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรในขั้นนี้ ครูควรใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ
ที่น่าสนใจและเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น การเล่าเรื่องรอบวง มุมสนทนา คู่ตรวจสอบ คู่คิด ฯลฯ
3.2ผู้สอนสังเกตการณ์ทำงานของกลุ่ม
คอยเป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้ความกระจ่างในกรณีที่ผู้เรียนสงสัยต้องการความช่วยเหลือ
4.
ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ ขั้นนี้ผู้เรียนจะรายงานผลการทำงานกลุ่ม ผู้สอนและเพื่อนกลุ่มอื่นอาจซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจน เพื่อเป็นการตรวจสอบผลงานของกลุ่มและรายบุคคล
5.
ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม ขั้นนี้ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกัน สรุปบทเรียน ผู้สอนควรช่วยเสริมเพิ่มเติมความรู้
ช่วยคิดให้ครบตามเป้าหมายการเรียนที่กำหนดไว้ และช่วยกันประเมินผลการทำงานกลุ่มทั้งส่วนที่เด่นและส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ไข
การวัดและประเมินผล
1.
ตามรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคต่างๆ โดยสรุปจะมีทั้งคะแนนรายบุคคลและรายกลุ่ม
2. วิธีการวัดผลใช้การทดสอบความรู้
การสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มการประเมินผลงาน
และการสัมภาษณ์ความรู้สึกความคิดเห็น
3.
เครื่องมือที่ใช้วัดผล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์แบบประเมินผลงาน
4.
ช่วงเวลาที่ใช้วัดผลคือ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
การเตรียมตัวของผู้สอน
1.
ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) จัดกลุ่มผู้เรียนให้ทำงานด้วยกันได้อย่างเหมาะสม
และมีเป้าหมายการทำงานเดียวกัน
2.
จัดหลักสูตรหรือหน่วยที่เหมาะจะเรียนแบบร่วมมือ
3.
แจ้งเป้าหมายของงานให้ผู้เรียนทำ อธิบายกิจกรรมการเรียนรู้อย่างชัดเจน
4.
ดูแลประสิทธิภาพของการทำงานกลุ่ม ให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
5.
ให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้เรียนทั้งด้านเนื้อหาและทักษะการทำงาน
6.
ประเมินผลสัมฤทธิ์และส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
ตัวอย่างการสอน
- การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์
- ถ่ายทำเป็นวีดิทัศน์ ใช้เวลาชมประมาณ 15 นาที
- เนื้อหาที่เรียนคือ ประวัติศาสตร์โลก เป็นเนื้อหาในระดับปริญญาตรีโดยผู้เชี่ยวชาญที่เรียบเรียงเนื้อหา
คือศาสตราจารย์ ดร.สิริวรรณ ศรีพหล
- นักศึกษาในวีดิทัศน์ คือนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตหลักสูตรและการสอน
จำนวน 16 คน
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
- ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ด้วยตนเอง โดยความร่วมมือและช่วยเหลือจากเพื่อนๆ
- ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ทักษะการประสานสัมพันธ์ ทักษะการคิดทักษะการแสวงหาความรู้
ทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น
- ผู้เรียนกระตือรือร้นเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองโดยรอบด้าน
- ผู้เรียนซึมซับวิถีการทำงานร่วมกันเป็นคณะ เมื่อเติบโตเข้าสู่สังคมจะสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121807/innovation/index.php/2014-02-21-03-28-50